วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ธุรกิจน้ำดื่มบรรจุขวด




สภาพอากาศของประเทศส่งผลให้ความต้องการเครื่องดื่ม พื่อช่วยดับกระหายคลายร้อนเพิ่มสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นนํ้าดื่มบรรจุขวด นํ้าอัดลม นํ้าผลไม้เป็นต้นโดยเฉพาะนํ้าดื่มบรรจุขวดมีข้อได้เปรียบทางด้านราคาที่ไม่สูงจนเกินไป ในขณะเดียวกัน นํ้าดื่มบรรจุขวดยังเป็นสินค้าที่เหมาะสำ หรับผู้ที่เน้นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเพราะไม่มีสารปรุงแต่งอื่น ๆ
     ปัจจุบันธุรกิจผลิตนํ้าดื่มมีมูลค่าตลาดสูงถึงประมาณ 4,000 ล้านบาทต่อปี และมี   ผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่รวมกันประมาณ 2,000 รายการผลิตนํ้าดื่มมีผลิตนํ้าดื่มมีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมากจากหลายปัจจัยเช่น ปัญหาความเสื่อมโทรมของ  แหล่งนํ้าธรรมชาติ ตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม แต่ก่อนแหล่งนํ้าต่างๆ    สามารถนำ มาใช้เพื่ออุปโภคและบริโภคได้ ทว่าปัจจุบัน มลภาวะจากแหล่งต่างๆ   เช่น       โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ เป็นต้น ทำ ให้แหล่งนํ้ามีภาวะปนเปื้อน รวมถึง   จำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นต้นสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาในตลาดนี้สูงถึงร้อยละ 20-30 ต่อปี
กลุ่มลูกค้า
 
กลุ่ม ลูกค้าสามารถแบ่งตามลักษณะการบรรจุของน้ำดื่มได้ ดังนี้
1.น้ำดื่มบรรจุขวด
                                        

 
            กลุ่มลูกค้าจะเป็นกลุ่มบุคคลทั่ว ๆ ไป ที่ต้องการดื่มน้ำ ในปริมาณไม่มากหาซื้อง่าย สะดวกต่อการพกพา  และการเดินทางจะเห็นได้ว่าตามร้านค้าทั่ว ๆ ไป    มีนํ้าดื่มบรรจุขวดอยู่หลายขนาดเพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
2. น้ำ ดื่มบรรจุถัง
                           


         กลุ่มลูกค้าจะเป็นกลุ่มอาคารบ้านเรือน อาคารสำ นักงาน โรงงาน เป็นต้น น้ำดื่มบรรจุถังมีราคาถูก และมีนํ้าปริมาณม

ส่วนผสมทางการตลาด

ผลิตภัณฑ์นํ้าดื่ม (Product)
ในท้องตลาด นํ้าดื่มสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ นํ้าดื่มในภาชนะที่เป็นพลาสติกใส
และพลาสติกขุ่น ผู้บริโภคจะนิยมดื่มน้ำ ในภาชนะบรรจุที่เป็นพลาสติกใสมากกว่า เพราะมีความเชื่อมั่นต่อความสะอาดและปลอดภัย การที่ผู้บริโภคหันมานิยมดื่มนํ้าบรรจุขวด เนื่องจากเห็นว่าหาซื้อง่าย และที่สำคัญคือมีประโยชน์ต่อร่างกาย
.ลักษณะที่ดีของนํ้าดื่มบรรจุขวด/ถัง
1. สภาพภายนอกและสภาพภายในของขวด/ถังที่ใช้บรรจุต้องสะอาด บริเวณฝาปิดต้องไม่มี
  คราบปนเปื้อน ฝาต้องปิดสนิท มีแผ่นพลาสติกรัดฝาอีกชั้นหนึ่ง
2. ลักษณะของนํ้าต้องใส ไม่มีตะกอน สี กลิ่น รสที่ผิดปกติ
3. ฉลากต้องระบุชื่อ ตราน้ำ ดื่มที่ตั้งของผู้ผลิต ปริมาตรสุทธิ เลขทะเบียน อย. อย่างชัดเจน
      การกำหนดราคา (Price)

การกำหนดราคาของนํ้าดื่ม     
                                                                จะขึ้นอยู่กับภาวะทั่วไปของตลาดและต้นทุนการผลิตคือการกำหนดราคาตามสภาวะทางการตลาด  ผู้ประกอบรายใหม่ควรสำรวจราคาจากผู้ประกอบการรายเดิมในพื้นที่นั้นๆเพื่อไม่ให้ราคาสูง  หรือ   ตํ่าเกินไป แต่ส่วนมาก ผู้ประกอบการนํ้าดื่มที่ต้องการหาตลาดจะกำหนดราคาสินค้าตํ่ากว่า ผู้ประกอบการรายเดิมทำให้บางครั้ง ผู้ประกอบการต้องประสบภาวะขาดทุน และดำ เนินธุรกิจได้ไม่นานการกำหนดราคาจากต้นทุนการผลิต ซึ่งประกอบด้วย ค่าแรงงาน      ค่าน้ำ   ค่าไฟฟ้าและที่มากที่สุดคือค่าบรรจุภัณฑ์เพราะวัตถุดิบหลัก ของบรรจุภัณฑ์จะเป็นพลาสติกและเม็ดพลาสติกซึ่งอิงกับราคานํ้ามันฉะนั้น หากปัจจัยการผลิตถูกปรับราคาสูงขึ้น ผู้ประกอบการก็อาจต้องเพิ่มราคานํ้าดื่ม
ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตบางรายอาจกำหนดราคาขายส่งนํ้าบรรจุถัง 20 ลิตร ถังละ 7
บาท และร้านค้าจะขายให้ผู้บริโภคในราคาถังละ 12 บาท ส่วนนํ้าบรรจุขวด ผู้ผลิตจะได้
กำ ไรไม่มาก          เพราะเฉพาะต้นทุนขวดพลาสติกตกขวดละ 2 บาท และจำหน่ายให้ร้านค้าในราคาขวดละ   3.30    บาท แต่ผู้ผลิตต้องทำควบคู่กันไปเพื่อเอาใจลูกค้า โดยลูกค้าจะนำ ไปจำ หน่ายในราคา 5-6 บาท
ช่องทางการจัดจำ หน่าย (Place

ไม่ว่าจะทำ ธุรกิจประเภทใดก็ตาม ผู้ประกอบการต้องสำรวจตลาดหรือช่องทางการจำหน่ายสินค้าก่อนเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการผลิตต่อไปโดยทั่วไปผู้ประกอบการนํ้าดื่มมีช่องทางการจำหน่ายดังนี้ติดต่อเอเยนต์หรือตัวแทนจำหน่ายนํ้าดื่มในเขตพื้นที่นั้นๆ โดยทำการตกลงหรือกำหนด  เงื่อนไขระหว่างผู้ประกอบการน้ำ ดื่มและตัวแทนจำ หน่าย เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า       ร้านมินิมาร์ท           เป็นต้น
การติดต่อกับลูกค้าโดยตรง เช่น การส่งนํ้าดื่มตามบ้านพักอาศัย สำนักงาน โรงงาน ร้านอาหารเป็นต้น
การส่งเสริมการขาย Promoion

ผู้ประกอบการมีวิธีการส่งเสริมการขายที่ไม่เหมือนกันเช่น
- การลดราคาสินค้าให้กับลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก
- การให้ของชำร่วยในช่วงเทศกาลเช่น เทศกาลวันปีใหม่ผู้ประกอบการอาจให้ของชำร่วยที่ผู้ประกอบการมีอยู่ เช่น นํ้าดื่ม โดยไม่เก็บเงิน ทั้งนี้ จำนวนที่ให้ไม่ควรมากเกินไป จนผู้ประกอบการต้องแบกภาระ
ขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจผลิตน้ำดื่ม

} ติดต่อกับหน่วยงานราชการ
}จัดเตรียมในส่วนของพื้นที่โรงเรือน
}จัดเตรียมและในส่วนของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่ม
}จัดเตรียมในส่วนของกำลังคน
}จัดเตรียมในส่วนของตลาดและกลุ่มลูกค้า
การติดต่อกับหน่วยงานราชการ
 
}ผู้ประกอบการโรงงานน้ำดื่มจะต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการ ดังนี้
}1. หน่วยงานท้องที่ ในเรื่องการขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร และการชำ ระภาษีโรงเรือน
}2. กรมโรงงาน หากสถานประกอบการเข้าข่ายโรงงาน ดูได้จากจำนวนแรงม้าของเครื่องจักร
}3. กรมทรัพยากรธรณี ในกรณีที่ไม่มีนํ้าประปาหรือนํ้าประปาไม่เพียงพอ
}4. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อการจัดตั้งกิจการ
}5. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสาธารณสุขจังหวัด เช่น การขออนุญาตผลิตอาหารและการขอเครื่องหมาย อย.
}6. ภาษี เช่น ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม
 
1. หน่วยงานท้องถิ่น/สำนักงานเขต
การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร
                         ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบว่าสถานที่ผลิตอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการท้องถิ่นใด เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด      องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เป็นต้นและส่วนราชการท้องถิ่นนั้น มีข้อกำหนดให้การผลิตอาหารต้องยื่นขออนุญาตหรือไม่
 สถานที่ติดต่อ
            กรุงเทพมหานคร ติดต่อสำ นักงานเขตต่างจังหวัด ติดต่อราชการส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล

ค่าธรรมเนียมการขออนุญาต
ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไป ค่าธรรมเนียมไม่เกิน 1,000 บาท แต่อัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้คือ 10,000 บาท
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
     ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารหรือโรงเรือน ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
สถานที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
กรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการสามารถชำ ระได้ยังสำ นักงานเขต ที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ต่างจังหวัด ชำระได้ที่เทศบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล

สถานที่เข้าข่ายโรงงาน สามารถแยกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
  1. โรงงานประเภท 1        มีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 5 – 20 แรงม้า หรือคนงานไม่เกิน 20คน โรงงานประเภทนี้ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
2. โรงงานประเภท 2 มีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต 20 – 50 แรงม้า หรือคนงานไม่เกิน 50 คน เมื่อจะเริ่มประกอบกิจการ โรงงานต้องแจ้งต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่
3. โรงงานประเภท 3      มีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเกิน 50 แรงม้า หรือคนงานเกิน 50คน หรือโรงงานประเภท 1 และ 2 ที่มีการใช้ ฟืน ขี้เลื่อย หรือแกลบเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต ผู้ประกอบการต้องยื่นขออนุญาตก่อน จึงจะตั้งโรงงานได้
  
การชำ ระค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต มีตั้งแต่ 500 บาท สูงสุด 50,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนแรงม้าของเครื่องจักร
ค่าธรรมเนียมรายปี
         ตั้งแต่ 150 บาท สูงสุด 18,000 บาท ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และ 3 ต้องชำ ระค่าธรรมเนียมรายปีทุกปี ตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการโรงงาน ถ้าผู้ประกอบการมิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ ผู้ประกอบการจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละห้าต่อเดือน
สถานที่ชำ ระค่าธรรมเนียม
โรงงานในเขตกรุงเทพมหานคร ชำ ระค่าธรรมเนียมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ส่วนโรงงานในจังหวัดอื่นๆ ชำระที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
การจัดตั้งธุรกิจ/รูปแบบธุรกิจ
5. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
การขออนุญาตผลิตอาหาร
     สำหรับสถานที่ผลิตอาหารที่เข้าข่ายโรงงาน ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขออนุญาตเป็นผู้ผลิตอาหารต่อสำ นักคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำ นักงานสาธารณสุขจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่
สถานที่ติดต่อ (กรณีเข้าข่ายโรงงาน)
     กรุงเทพมหานคร ติดต่อกองควบคุมอาหาร สำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขต่างจังหวัด ติดต่อสำ นักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งสถานที่ผลิตตั้งอยู่

ผู้ประกอบการโรงงานน้ำดื่มจะต้องส่งตัวอย่างวิเคราะห์ตามที่กฎหมายกำหนดและนำ ผลวิเคราะห์มายื่นขออนุญาตผลิตต่อสำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)/สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)
สถานที่ออกใบอนุญาต (เครื่องหมาย อย.)
กรุงเทพมหานคร ติดต่อกองควบคุมอาหาร สำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ นนทบุรี 11000ต่างจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งสถานที่ผลิตตั้งอยู่
                           หลักเกณฑ์วิธีการที่ดี หรือจีเอ็มพี 
        
(Good Manufacturing Practice : GMP) ในการผลิตนํ้าดื่ม)
 
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2544 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข      ได้กำหนดให้ธุรกิจนํ้าดื่มบรรจุขวดเป็นหนึ่งในสินค้าที่ต้องกำหนดวิธีการผลิต       เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาสินค้าตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีหรือจีเอ็มพี (Good Manufacturing)
                (Practice : GMP) ในการผลิตนํ้าดื่ม GMP มีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบการนํ้าดื่มรายใหม่ในวันที่24 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป ส่วนผู้ประกอบการรายเดิมมีเวลาปรับปรุง เพื่อให้ถูกต้องตามมาตรฐานเป็นเวลา 2 ปี หรือเริ่มบังคับใช้วันที่ 24 กรกฎาคม 2546
 GMP ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขมี 11 ประเด็น สรุปได้ ดังนี้

1.สถานที่ผลิตและอาคารที่ผลิต
                                   จะต้องตั้งอยู่ในพื้นที่สะอาด ไม่มีการสะสมของสิ่งเหลือใช้ หรือสิ่งปฏิกูลต่างๆ รวมทั้งต้องมีวิธีป้องกันสิ่งปนเปื้อน ทั้งฝุ่นละออง เชื้อโรค   แมลงและสัตว์นำโรคสถานที่ผลิตจะต้องถูกออกแบบก่อสร้างให้มีลักษณะง่าย  ต่อการทำ ความสะอาดนอกจากนี้ ต้องแบ่งแยกพื้นที่การผลิตเป็นสัดส่วน      เพื่อป้องกันการปนเปื้อนประการสำคัญ ต้องแยกพื้นที่สำ หรับผลิตสินค้าออกจากบริเวณที่อยู่อาศัยและห้องนํ้าห้องส้วมอย่างชัดเจน
2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต จะต้องมีจำนวนเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ติดตั้งในตำ เหน่งที่เหมาะสม สามารถทำ ความสะอาดได้ง่าย และถูกล้างทำ ความสะอาดฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอทั้งก่อนและหลังการผลิต
การจัดเตรียมพื้นที่โรงเรือน

}การจัดเตรียมพื้นโรงเรือนเพื่อผลิตน้ำดื่ม ทางผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมพื้นในก่อสร้างโรงเรือน โดยจัดให้มีพื้นที่ดังต่อไปนี้
พื้นที่วางเครื่อง
พื้นที่บรรจุสินค้า
พื้นที่ผลิตสินค้า
พื้นที่เก็บสินค้าที่บรรจุเสร็จแล้ว
พื้นที่เก็บสต๊อกวัตถุดิบ
พื้นที่ชักล้าง
       การจัดเตรียมพื้นที่โรงเรือน
โรงงานสิ่งปลูกสร้างและสภาพแวดล้อม
 

สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
            สถานที่ตั้งของตัวอาคารและบริเวณใกล้เคียงต้องอยู่ในที่เหมาะสม ไม่ทำ ให้เกิดการปนเปื้อนกับนํ้าบริโภค หรือถ้าผู้ผลิตไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ผู้ผลิตก็ต้องมีมาตรการป้องกันเพิ่มเติม อาคารผลิตต้องมีผนังทั้ง 4 ด้าน การจัดอาคารอย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย
1. ห้องติดตั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ปรับคุณภาพนํ้า ห้องดังกล่าวต้องมีพื้นลาดเอียง มีทางระบาย
นํ้าไม่มีนํ้าขัง
2. ห้องหรือบริเวณเก็บภาชนะก่อนล้าง ห้องนี้ต้องมีพื้นที่แห้ง มีชั้น หรือยกพื้น มีมาตรการป้อง
กันฝุ่นละออง
3. ห้องหรือบริเวณล้างและฆ่าเชื้อภาชนะบรรจุ ห้องดังกล่าวต้องมีพื้นลาดเอียง ไม่มีนํ้าขัง และ
มีทางระบายนํ้า มีระบบจัดแยกภาชนะที่กำ ลังรอล้าง และที่ล้างแล้ว
 
4. ห้องบรรจุ ห้องนี้ต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนอย่างมีประสิทธิภาพ มีทางเข้าออกที่สามารถป้องกันสัตว์ แมลง ไม่เป็นทางเดินผ่านไปยังบริเวณหรือห้องอื่นๆ มีพื้นลาดเอียง ไม่มีนํ้าขัง และมีทางระบายนํ้า มีโต๊ะ และหรือแท่นบรรจุ ซึ่งทำ ความสะอาดง่าย ห้องบรรจุดังกล่าวต้องมีการใช้ และปฏิบัติงานจริง
5. ห้องหรือบริเวณเก็บผลิตภัณฑ์ ห้องนี้ต้องมีชั้น หรือยกพื้นรองรับ มีระบบการเก็บผลิตภัณฑ์เพื่อรอจำหน่าย
 เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต
 

           ผิวหน้าของเครื่องหรืออุปกรณ์ที่สัมผัสโดยตรงกับนํ้าบริโภค ต้องทำ จากวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดสนิมและไม่เป็นพิษ เครื่องมือเครื่องจักรต้องสามารถทำ ความสะอาด ฆ่าเชื้อได้ง่าย และมีจำนวนพอเพียง
 เครื่องมืออย่างน้อยต้องประกอบด้วย
1. เครื่องหรืออุปกรณ์การปรับคุณภาพนํ้า
2. เครื่องหรืออุปกรณ์ล้างภาชนะบรรจุ
3. เครื่องหรืออุปกรณ์การบรรจุ

4. เครื่องหรืออุปกรณ์การปิดผนึก
5. โต๊ะหรือแท่นบรรจุ ที่เหมาะสมสำ หรับขนาดบรรจุที่ต่างกัน
6. ท่อส่งนํ้าเป็นท่อพลาสติก PVC หรือวัสดุอื่นที่มีคุณภาพทัดเทียมกันดังกล่าวมีสภาพการทำ งานที่ดี นอกจากนี้ อุปกรณ์ยังต้องได้รับการทำ ความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอ ทั้งก่อนและหลังการผลิต หรือตามระยะเวลาที่เหมาะสม
ผู้ผลิตควรตรวจสอบประสิทธิภาพการทำ งานของอุปกรณ์อย่างสมํ่าเสมอเพื่อให้อุปกรณ์มีความสมบูรณ์
     ตัวอย่างโครงสร้างโรงงานผลิตน้ำดื่ม

วิธีบริหารแรงงาน

การสรรหาแรงงาน
                   พนักงานในธุรกิจผลิตนํ้าดื่ม ประกอบด้วย พนักงานฝ่ายธุรการ พนักงานฝ่ายผลิต ในส่วนของพนักงานฝ่ายธุรการ ประกอบด้วย พนักงานฝ่ายบัญชี   สำหรับพนักงานในโรงงานประกอบด้วย ช่างซ่อมบำ รุง พนักงานบรรจุ พนักงานล้างภาชนะ พนักงานส่งของพนักงานขับรถ ผู้ประกอบการอาจสรรหาพนักงานจากการประกาศรับสมัครทางสื่อสิ่งพิมพ์ประกาศรับสมัครหน้าโรงงาน และจากสำนักงานจัดหางาน

การคัดเลือกพนักงานให้เหมาะสมกับงาน
                                                                  ผู้ระกอบการจะต้องพิจารณาลักษณะของงานว่า
ควรใช้บุคลากรที่มีความสามารถด้านใด เพื่อให้เหมาะสมกับงาน   เช่น     พนักงานบัญชีจะต้องมีความรู้ความสามารถทางด้านบัญชี และมีความละเอียดรอบคอบ ช่างซ่อมบำรุงควรมีความรู้ในเรื่องของเครื่องจักรเป็นอย่างดี วางแผนดูแลรักษาเครื่องจักร เพื่อยืดอายุการใช้งานได้นาน เป็นต้น
จำนวนแรงงานที่ใช้
                           ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงงาน กำลังการผลิตน้ำ ดื่ม และตลาดรองรับสินค้า